การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT)

เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องมีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบบริหารจัดการรวมถึง "สิทธิประโยชน์" ต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น มีขีดความสามารถในการเลือกตลาดการค้าได้ตามสภาวะแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือผลิตเพื่อส่งออก

พื้นที่เพื่อประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม จำแนกออกเป็น 2 เขต คือ
  1. เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone: GIZ)
  2. เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone)

โดยผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั้งสองจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี (Non-Tax Privileges) สำหรับการลงทุนใน GIZ และ I-EA-T Free Zone

  • สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
  • ได้รับอนุญาตนำผู้เชี่ยวชาญ ช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศพร้อมการให้บริการขอวีซ่าและ Work Permit
  • ได้รับอนุญาตนำคู่สมรส บุตรและผู้อยู่ในอุปการะเข้าพักอาศัยในประเทศ พร้อมการให้บริการขอวีซ่า
  • สามารถนำส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกราชอาณาจักรได้
  • สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก BOI ในกรณีขอรับการส่งเสริมการลงทุน

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี (Tax Privileges) สำหรับการลงทุนใน I-EA-T Free Zone

  • ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี (Non-Tax Privileges) เช่นเดียวกับ GIZ
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax Privileges)
  • ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ในการผลิต
  • ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่นำเข้าเพื่อการผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรม
  • ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับวัตถุดิบรวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งพลอยได้และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิต